(Development of Crude Oil and Relevant Oil Product Fingerprint Library in Thailand) (Years 2022 – 2024)
Oil spill is a severe problem worldwide since it causes damage to marine and coastal environment. Identification of the spilled oils has been a challenging issue for remediation and prevention. In general, spilled oils are undergone weathering in the sea and become tar balls before appearing on the shorelines. The weathering processes including evaporation, photo-oxidation, and biodegradation cause a notable change of physical and chemical composition in oil. Due to their high durability, biomarker compounds (i.e., hopanes, steranes) are widely used for oil fingerprinting.
In Thailand, ten organizations including government and private sectors led by the Pollution Control Department have signed the MOU on “Development of Crude Oil and Relevant Oil Product Fingerprint Library in Thailand” in November 2018. The Petroleum and Petrochemical College is one of the partners responsible for oil fingerprint analysis using GCxGC TOF-MS. In addition, the Pollution Control Department with the collaboration of the partners has recently published the “Manual for Collecting and Analyzing Crude Oil, Spilled Oil, and Tar Balls” to share the knowledge for the relevant sectors. There is an ongoing project (2022-2024) on the development of database of crude oils commonly used in Thailand. This database would help the crude oil identification in the future.
เนื่องจากมีคราบน้ำมัน ก้อนน้ำมันดิน (tar ball) และทรายปนเปื้อนบริเวณชายฝั่งทั้งทางภาคตะวันออกและภาคใต้ของประเทศไทยเกิดขึ้นบ่อยครั้ง ซึ่งส่งผลระทบต่อสิ่งแวดล้อมทางทะเล สุขภาพของประชาชนและสิ่งมีชีวิตที่อาศัยบริเวณใกล้เคียง รวมถึงการท่องเที่ยว และเศรษฐกิจในชุมชนที่เกี่ยวข้อง อย่างไรก็ดี ที่ผ่านมาประเทศไทยยังไม่มีหน่วยงานใดที่สามารถตรวจพิสูจน์ทราบแน่ชัดว่าน้ำมันที่พบเป็นชนิดใด มาจากแหล่งใด และใครควรเป็นผู้รับผิดชอบต่อผลกระทบที่เกิดขึ้น อีกทั้งควรมีมาตรการวางแผนอย่างไรเพื่อป้องกันการเกิดเหตุการณ์ซ้ำในอนาคต
เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2561 จึงได้มีการจัดทำข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) เรื่องการพัฒนาฐานข้อมูลลายนิ้วมือน้ำมันดิบ และผลิตภัณฑ์น้ำมันที่เกี่ยวข้องในประเทศไทย โดยหน่วยงานภาครัฐและเอกชน 10 หน่วยงาน ได้แก่ กรมควบคุมมลพิษ กรมเจ้าท่า กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาฯ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กรมศุลกากร กระทรวงการคลัง ศูนย์ประสานการปฏิบัติในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลในส่วนของกองทัพเรือ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน และ
สมาคมอนุรักษ์สภาพแวดล้อมของกลุ่มอุตสาหกรรมน้ำมัน
จากความร่วมมือ จึงมีแผนการดำเนินการเพื่อให้ประเทศมีความพร้อมในการวิเคราะห์และพิสูจน์ทราบแหล่งที่มาของคราบน้ำมันเมื่อมีเหตุการณ์ ในข้อตกลงความร่วมมือได้กำหนดให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยวิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี ทำหน้าที่วิเคราะห์ลายนิ้วมือน้ำมัน และร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (big data) เเพราะข้อมูลการวิเคราะห์ลายนิ้วมือน้ำมัน จะเป็นต้นทางของการสร้างฐานข้อมูลและเสนอให้หน่วยงานอื่นได้ใช้ในการดำเนินงานเพื่อบรรลุพันธกิจที่ตั้งไว้


เอกสารเผยแพร่
Presentation sildes-oil fingerprinting
ข้อมูลเผยแพร่
https://reo15.go.th/environmental_knowledge/detail/59/data.html